400-808-2393

LANGUAGE

เครือข่ายการแพทย์

ความรู้ในการทำเด็กหลอดแก้ว

"โรคอ้วน" ไม่เพียงส่งผลต่อความสวยงามของผู้หญิงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการกำเนิดของทารกด้วย!

2020-06-22    649

  ฤดูร้อนมาถึงแล้ว คุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามทั้งหลายได้เริ่มต้น “ลดน้ำหนัก” ของตัวเองแม้ว่าจะไม่จำเป็นที่จะต้องผอมแบบสายฟ้าแลบ แต่โรคอ้วนก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี

  การศึกษาพบว่าโรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคอื่นๆอีกมากมาย และแม้กระทั่งโรคมะเร็ง ผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วนจะมีแนวโน้มที่จะมีบุตรยากกว่าผู้หญิงน้ำหนักปกติถึงสามเท่า

  เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกายปกติผู้ป่วยที่มีค่าBMI≥25kg / m2 จะมีไข่น้อยและตัวอ่อนที่สามารถย้ายได้ก็จะน้อยลง อัตราการตั้งครรภ์ก็จะลดลงและเพิ่มอัตราการแท้งในระยะแรกอีกด้วย และยิ่งอ้วนมากเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลต่อผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้วมากขึ้นเท่านั้น


04101

  ผลกระทบของโรคอ้วนต่อการทำงานของรังไข่

  ▼

  ผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วนจะมีระดับของฮอร์โมนแอนโดรเจนในร่างกายเพิ่มขึ้นซึ่งจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน และส่งผลต่อการพัฒนาของ follicular และเพิ่ม follicular atresia ในทางกลับกันเซลล์ไขมันมี aromatase ซึ่งจะเพิ่มระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายและยับยั้งการปล่อย FSH จากต่อมใต้สมอง เมื่อ FSH ลดลงจะทำให้เกิดความผิดปกติของการตกไข่

  ▼

  ผลกระทบของโรคอ้วนต่อคุณภาพของไข่

  ▼

  การสะสมของไขมันในร่างกายมีผลต่อการพัฒนาของไข่ในรังไข่และส่งผลเสียต่อการพัฒนาของไข่ สารอนุมูลอิสระที่มีมากเกินไปสามารถทำลายไมโตคอนเดรียของไข่ ลดคุณภาพของไข่ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของตัวอ่อนและนำไปสู่การแท้ง

  ▼

  ผลกระทบของโรคอ้วนต่อการฝังตัวของตัวอ่อน

  ▼

  เยื่อบุโพรงมดลูกจะรับการฝังตัวของตัวอ่อนและยังคงพัฒนาเป็นขั้นตอนแรกในการตั้งครรภ์ การพัฒนาการของตัวอ่อนและเยื่อบุโพรงมดลูกเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติจะส่งผลให้ตัวอ่อนไม่สามารถที่จะฝังตัวได้และสลายไปกลายเป็นประจำเดือน ส่งผลให้อัตราการฝังตัวและอัตราการตั้งครรภ์ในผู้ป่วยโรคอ้วนลดต่ำลง

  เมื่อมีการสลายตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติก็จะส่งผลกระทบต่อการสร้างรก ทำให้เกิดตำแหน่งรกที่ผิดปกติและทำให้เกิดความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ นอกจากนี้ปัจจัยจากสารที่ทำให้การอักเสบจำนวนมากหลั่งมาจากเซลล์ไขมันในผู้ป่วยโรคอ้วนทำให้ตัวอ่อนฝังตัวที่โพรงมดลูกได้น้อยลง จึงส่งผลกระทบต่อการฝังตัวของตัวอ่อนและการตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่อง

  การตรวจอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดในผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วนทำได้ค่อนข้างยาก

  ▼

  การตรวจอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดในระหว่างขั้นตอนการกระตุ้นไข่ที่เป็นโรคอ้วนจะเพิ่มความยากลำบากในการใช้อัลตร้าซาวน์เนื่องจากการสะสมของไขมันในร่างกาย อวัยวะอุ้งเชิงกรานและรังไข่ เครื่องอัลตราซาวด์จะไม่แสดงผลอย่างชัดเจน ในบางกรณีจำเป็นต้องใช้การกดหน้าท้องซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายเป็นอย่างมาก

  ในปัจจุบันการเก็บไข่จะดำเนินการภายใต้การทำอัลตราซาวด์ ชั้นไขมันหน้าท้องที่หนาจะเพิ่มความยากลำบากในการเก็บไข่และมีความเสี่ยงต่อการมีเลือดออก

  วิธีลดน้ำหนัก

  อาหารและอุปนิสัยการกิน

  ไม่อดอาหาร

  รับประทานอาหารให้อยู่สมดุลที่เหมาะสม

  รับประทานผลไม้ให้อยู่สมดุลที่เหมาะสม

  ดื่มน้ำมากๆ

  ลดปริมาณน้ำมัน น้ำตาลและเกลือ

  รับประทานเป็นมื้อเล็ก ๆ

  เคี้ยวช้าๆ

  ควรรับประทานอาหารเช้า

  ออกกำลังกาย

  คุณสามารถอ้างถึงหลักการ FITT ซึ่งแสดงถึงความถี่ ความเข้ม เวลาและประเภทของในการออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยให้คุณได้รับผลลัพธ์การออกกำลังกายที่ดีที่สุด

  หลักการ FITT

  F: ความถี่ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์

  I: ความเข้มของการออกกำลังกายจากต่ำไปสูงเน้นการความคงที่

  T: เวลา 30-60 นาที / ค่อยๆเพิ่มเวลา

  T: เลือกประเภทในการออกกำลังกาย เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง เดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ ฯลฯ

  ปรับเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหาร การเลือกรับประทานอาหาร วิถีการดำเนินชีวิต การลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพสามารถทำได้มากถึง 5% -10% ผู้ป่วยบางคนสามารถฟื้นฟูจนรอบประจำเดือนและการตกไข่กลับมาเป็นปกติ