400-808-2393

LANGUAGE

เครือข่ายการแพทย์

เอกสารวิชาการ

เอกสารทางวิชาการของ CEF THAILAND : การประเมินภาวะมีบุตรยากฝ่ายหญิง (1)

2020-07-03    537

  ภาวะมีบุตรยากเป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของภาวะเจริญพันธุ์ทั้งของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง การวินิจฉัยและประเมินโรคที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การวินิจฉัยและแผนการรักษาภาวะมีบุตรยากควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่นอายุ ระยะเวลาที่เป็นภาวะมีบุตรยาก สาเหตุ ความสะดวกสบายในการรักษาพยาบาล ราคาและปัจจัยอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวินิจฉัยและการรักษาของการตรวจแต่ละครั้ง

04132

  อายุของสามีและภรรยา

  ช่วงอายุที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการคลอดลูกคือ 20~30 ปี โดยเฉพาะผู้หญิง ตั้งแต่แรกเกิดรังไข่จะมีไข่อยู่ประมาณหนึ่งล้านใบ และ ช่วงวัยรุ่นจะลดลงเหลือประมาณสี่หมื่นใบ ในช่วงอายุตั้งแต่อายุ 15~45 ปี ภายในรังไข่จะยังคงมีการเติบโตของไข่อย่างต่อเนื่อง ในช่วงอายุ 30 ปีจะมีเพียง 400-500 ใบเท่านั้นที่มีเจริญเติบโต นอกจากนั้นไข่จะเริ่มค่อยๆหยุดการเจริญเติบโตและเสื่อมสภาพ ในช่วงอายุ 35 ปี จำนวนไข่ในรังไข่จะลดลงเรื่อย ๆ และคุณภาพของเซลล์ไข่จะค่อยๆเสื่อมลง เมื่ออายุ 45 ปีจะเข้าสู่จุดสิ้นสุดของภาวะเจริญพันธุ์ ดังนั้นภาวะมีบุตรยากของเพศหญิงมีความสัมพันธ์อย่างมากกับอายุ สำหรับการให้คำปรึกษาภาวะมีบุตรยากการวินิจฉัยและการรักษาอายุเป็นปัจจัยแรกที่ต้องพิจารณา โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นสามขั้นตอน:

  ผู้หญิงอายุประมาณ30ปี หากการทำงานของรังไข่เป็นปกติ และระยะเวลาที่มีบุตรยากไม่นานมากนัก และไม่มีสาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก คุณสามารถที่จะลองตั้งครรภ์เองโดยกสนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณเพื่อการตั้งครรภ์ในอนาคต

  สำหรับผู้หญิงที่อายุมากกว่า35ปีขึ้นไป หากคุณลองตั้งครรภ์มาแล้วครึ่งปีแต่ก็ยังไม่ตั้งครรภ์เองได้ คุณสามารถไปที่คลินิกรักษาภาวะมีบุตรยากเพื่อรับคำปรึกษาและตรวจร่างกาย เช่น ผู้ชายควรทำการตรวจอสุจิ ผู้หญิงทำการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูจำนวนไข่ในรังไข่เพื่อพิจารณาว่าจะลองตั้งครรภ์เองหรือจะเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว

  สำหรับผู้หญิงที่อายุมากกว่า40ปีขึ้นไปให้ทำการตรวจการทำงานของรังไข่ ขอแนะนำในการใช้เทคโนโลยีช่วยการตั้งครรภ์

  ระยะเวลาของการมีบุตรยาก

  โอกาสที่คู่สมรสจะตั้งครรภ์ในหนึ่งรอบประจำเดือน ความสามารถในการตั้งครรภ์นี้ถูกเรียกว่าภาวะเจริญพันธุ์ (fecundability) โดยทั่วไปของคู่สมรส "ปกติ" ที่อายุมีน้อยกว่า35 ปีมักจะอยู่ที่ประมาณ 25% ตามสถิติในปีแรกประมาณ 80% ของคู่สมรสมีแนวโน้มที่จะตั้งครรภ์ และในปีที่สองสามารถตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติได้ประมาณ 50% และในปีที่สามสามารถตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติได้ประมาณ 95% คู่สมรสที่ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ตามธรรมชาติภายหลังการมีเพศสัมพันธุ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่คุมกำเนิดมานาน 3 ปี ควรพิจารณาใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

  อย่างไรก็ตามในบางกรณีคู่สมรสที่มีภาวะบุตรยากก็ควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป

  ผู้หญิงที่มีประวัติประจำเดือนผิดปกติหรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

  กรณีที่สงสัยหรือมีสาเหตุมาจากท่อนำไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกหรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

  คู่สมรสได้รับการวินิจฉัยว่าอาจมีสาเหตุมาจากภาวะมีบุตรยาก สำหรับคู่ที่มีภาวะมีบุตรยากอันดับแรกทั้งสองฝ่ายควรตรวจร่างกายอย่างละเอียดและขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

  บทความนี้มาจาก "เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ในทางปฏิบัติ"